top of page

เนื้อหา

-อนุภูมิภาคเอเชียใต้

ปัญหาสำคัญที่ถูกหยิบยกมาหารือคือ ความยากจนและความหนาแน่นของประชากร ความเสื่อมโทรมของดิน คุณภาพของแม่น้ำ คุณภาพอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ

 

-อนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นับตั้งแต่วิกฤตการทางเศรษฐกิจระหว่างปี ค.ศ.1997-1998 ได้ก่อให้เกิดการลดลงของรายได้ประชาชาติและปัญหาความยากจนเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่อนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ได้ถูกคาดการณ์ไว้ว่าในปี ค.ศ.2010 อนุภูมิภาคนี้จะเป็นที่ตั้งของมหานคร(Mega-Cities) ถึง 3 แห่ง ได้แก่ จาการ์ตา มะนิลา และกรุงเทพมหานคร ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมเมืองจะสังเกตได้จากหมอกควัน มลพิษทางอากาศ และมลพิษทางน้ำ นอกจากนี้ อนุภูมิภาคนี้ยังประสบกับปัญหาการลดลงของพื้นที่ป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดน ซึ่งปัญหานี้ประเทศสมาชิกได้ลงนามร่วมกันในข้อตกลงมลพิษหมอกควันข้ามแดน

 

-อนุภูมิภาคแปซิฟิกใต้

อนุภูมิภาคนี้มีประชากรน้อยที่สุดในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก แต่ประกอบด้วยความหลากหลายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ได้แก่ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศหมู่เกาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศหมู่เกาะกำลังพัฒนากำลังประสบปัญหาการขยายตัวของชุมชนเมืองอย่างรวดเร็ว ระบบนิเวศทางทะเลที่เปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก การขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อการบริโภค และรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไม่เหมาะสม

 

-อนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัญหาในอนุภูมิภาคนี้คือ ความแห้งแล้ง และความเสื่อมโทรมของดิน การทำเกษตรอย่างยั่งยืน จึงควรได้รับการสนับสนุน

 

-อนุภูมิภาคเอเชียกลาง

ปัญหาในอนุภูมิภาคนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งเป็นผลให้การเจริญเติบโตของรายได้ประชาชาติสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราการเจริญเติบโตของรายได้ประชาชาติในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม การขจัดปัญหาความยากจน ปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ปัญหามลพิษทางน้ำ ปัญหามลพิษทางอากาศของเมืองใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงมลพิษทางอากาศข้ามแดนยังเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการแก้ไข

ในการหารือระดับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก มีมติให้มีการเสริมสร้างขีดความสามารถและการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีภายใต้การสนับสนุนของ UNEP ซึ่งมีแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก อาทิ โครงการปลอดมลพิษ โครงการภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกยังขอให้ UNEP สนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา บทบาทของสตรี ในส่วนที่ประเทศต่างๆ ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามพันธะสัญญา และข้อตกลงนานาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต

 

 

Europe

เนื่องจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ประเทศในทวีปยุโรปหลายประเทศกำลังประสบกับปัญหาความแห้งแล้งที่เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศยุโรปตอนใต้ เช่น สเปน และโปรตุเกส ประสบกับปัญหาไฟป่าที่รุนแรงอย่างแสนสาหัสในปีที่ผ่านมา และนักวิทยาศาสตร์ยังคงคาดการณ์ว่าปัญหาดังกล่าวจะยังคงดำเนินต่อไปและอาจเพิ่มระดับความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆสถิติความแห้งแล้งเนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อยในปีที่แล้ว อาจจะถูกลบสถิติลงด้วยความแห้งแล้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีนี้ นักวิทยาศาสตร์หลายท่านออกมาเตือนประเทศยุโรปใต้ เช่น ฝรั่งเศส และสเปน ให้พร้อมรับกับภัยแล้งที่กำลังจะมาถึงในปีนี้ ในปีที่ผ่านมาประเทศยุโรปใต้ลำบากอย่างมากกับการจัดการภาวะความแห้งแล้ง ประเทศโปรตุเกสประสบปัญหาไฟป่าเผาผลาญทำลายพื้นที่กว่า 3 แสนเฮกเตอร์ หรือประมาณ 1,875,000ไร่ และมีผู้เสียชีวิต 18 ราย

 

 

กลุ่มสิ่งแวดล้อม European Environment Agency (EEA) กล่าวเตือนว่า การขาดแคลนน้ำ และอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นในทางตอนใต้ของทวีปยุโรปเกิดขึ้น และจากต้นแบบทางด้านสภาพอากาศชี้ให้เห็นว่า ทวีปยุโรปกำลังเริ่มเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความแห้งแล้งดังเช่นทะเลทราย อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นและความแห้งแล้งที่มีแนวโน้มจะทำให้เกิดไฟป่าจำนวนมากในบริเวณเมดิเตอเรเนียนมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเนื่องมาจากสภาวะเรือนกระจกกักเก็บความร้อนไม่ให้สะท้อนออกไปนอกโลก ปฏิกิริยาเรือนกระจกเกิดจากกลุ่มก๊าซเรือนกระจกหลายชนิด ที่สำคัญได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซของเสียที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทไฮโดรคาร์บอน หรือ น้ำมันที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นกับประเทศยุโรปใต้แล้วนั้น อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นยังส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆในยุโรปอีก เช่นระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นบริเวณชายฝั่งประเทศเนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร

Austria

​ทวีปออสเตรเลีย เป็นที่อาศัยของสัตว์หลากหลายชนิด แต่ที่ขึ้นชื่อก็คือจิงโจ้ ซึ่งตอนนี้มีมากจนเริ่มทำความเดือดร้อน ให้กับผู้คนในทวีปออสเตรีเลีย แต่ที่คิดว่าพวกเราคาดไม่ถึงก็คือ ขณะนี้ในทวีปออสเตรเลียมีอูฐอาศัยอยู่มากมาย และตอนนี้ชนเผ่า Aborigin ก็เริ่มนิยมล่าอูฐเพื่อเป็นอาหารกันแล้วอูฐถูกนำเข้ามาในออสเตรเลีย ในศตวรรษที่ 19 เพื่อใช้ในการบรรทุกสิ่งของในเขตทะเลทรายของออสเตรเลีย แต่เมื่อรถไฟและรถบรรทุกมีบทบาทมากขึ้น อูฐหลายพันตัวก็ถูกปล่อยเข้าป่าไป อูฐเหล่านี้ สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมในทวีปออสเตรเลียได้เป็นอย่างดี จนในขณะนี้มีอูฐมากกว่าล้านตัว อาศัยอยูใน South Australia, North Territory และ Western Australia อัตราการเพิ่มของอูฐสูงมาก คือเพิ่มขึ้น 2 เท่าในทุกๆ 8 ปี และเริ่มก่อปัญหากับระบบสิ่งแวดล้อมในออสเตรเลีย

แท่นขุดเจาะน้ำมันเวสท์แอตลาสก็เกิดเพลิงลุกไหม้ระหว่างการพยายาม อุดรอยรั่ว ส่งผลให้เกิดไฟลุกท่วมบนแท่นขุดเจาะที่อยู่ห่างจากชายฝั่งออสเตรเลีย ราว 250 กม. 

นับตั้งแต่การรั่วไหลของน้ำมันในวันที่ 21 ส.ค. มีน้ำมันดิบไหลลงทะเลติมอร์ 400 ถึง 2,000 บาร์เรล ต่อวัน ส่วนเว็บไซต์ความมั่นคงทางทะเลของรัฐบาลออสเตรเลียบอกว่ามีการรั่วไหลของ น้ำมันราว 300 ถึง 400 บาร์เรล

นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมประเมินว่ามีน้ำมันดิบราว 10 ล้านลิตรแล้วที่ไหลลงทะเลติมอร์ ทำให้เกิดผลกระทบกับสัตว์ทะเลและผลกระทบดังกล่าวจะดำรงอยู่ถึง 20 ปี

Africa

การทำเกษตรกรรมไม่ได้ผลดี นอกจากเพราะขาดแคลนเทคโนโลยีแล้วยังเนื่องมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศแห้งแล้ง บริเวณที่เพาะปลูกอยู่ในเขตฝนตกน้อยและอากาศร้อน การระเหยของน้ำเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเกษตรที่ได้ผลดีจะอยู่ในเขตที่ชาวยุโรปเข้าไปบุกเบิกด้วยการทำไร่ขนาดใหญ่ มีเทคโนโลยีทันสมัย เช่น ในเคนยามีการทำไร่กาแฟขนาดใหญ่ ไนจีเรียทำไร่ปาล์มน้ำมัน เป็นต้นบางประเทศพยายามหารายได้โดยการนำจุดเด่นของทวีมาใช้ประโยชน์ เช่น การกำหนดเขตอุทยานสัตว์ป่าและให้นักท่องเที่ยวเข้าชมสัตว์ในสภาพธรรมชาติ เช่น ในประเทศแอฟริกาใต้ ซิมบับเว แคเมอรูน เคนยา แทนซาเนีย บูร์กินาฟาโซ เป็นต้น อย่างไรก็ดี การที่ประชากรแอฟริกันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้พลเมืองบางส่วนโดยเฉพาะชาวไร่และผู้เลี้ยงสัตว์ไม่เห็นด้วยกับการใช้ที่ดินในลักษณะนี้โดยเฉพาะที่เคนยา รัฐบาลจึงต้องแก้ปัญหาโดยนำเงินที่ได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมาจ่ายให้แก่ชาวบ้านที่ดำรงชีพอยู่ใกล้ๆ เขตอุทยาน

ในปัจจุบันคุณภาพชีวิตของประชากรชาวแอฟริกาอยู่ในสภาพที่ต่ำมาก เนื่องมากปัจจัยหลายประการ ทั้งด้านภูมิศาสตร์ ความแห้งแล้งทุรกันดาร ลงครามระหว่างประเทศและชนเผ่าต่างๆ ปัญหาโรคระบาด เป็นต้น ประชากรในทวีปแอฟริกามีอัตราการเกิดและการายสูง นอกจากนี้ ทวีปแอฟริกายังมีปัญหาประขากรไม่รู้หนังสืออีกเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากความยากจนที่ขาดปัจจัยสนับสนุนในด้านการศึกษา กลุ่มคนไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา คือ กลุ่มชั้นนำทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ประชากรขาดการศึกษา คือ ประชากรส่วนใหญ่มีความเชื่อและยึดมั่นกับระบบชนเผ่าของตน และรัฐบาลไม่เห็นความสำคัญในด้านการศึกษา เช่น ขาดการวางแผนระบบการศึกษา ไม่มีการศึกษาภาคบังคับในบางประเทศ ทำให้ประชากรชาวแอฟริกามีดอกาสพัฒนาตนเองได้ยาก ความด้อยคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวแอฟริกาล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

 

ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุมแม้แต่ในทะเลทราย  ได้แก่  ยีราฟ  ม้าลาย  แรด  สิงโต  เสือดาว  ช้าง  หมาไน  ละมั่ง  นกและแมลงต่าง ๆ อีกนับพันชนิด  ปัจจุบันถึงแม้จำนวนสัตว์ป่าจะลดน้อยลงเพราะถูกล่า  แต่เมื่อเทียบกับทวีปอื่น ๆ ยังนับว่ามีอยู่มากโดยเฉพาะในแถบตอนกลางของทวีป ในปัจจุบันมีการล่าสัตว์กันเยอะมาก ทำให้สัตว์เหล่านี้ใกล้สูญพันธุ์

   North  America 

การตัดไม้ทาลายป่า ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาถือเป็นหนึ่งในผู้นาด้านการค้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ โดยที่มีปริมาณการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 15 และ 5 ของทั้งโลก ตามลาดับทั้งสองประเทศนี้มีคนงานที่ทางานป่าไม้มากกว่า 8 ล้านคน และมีโรงงานเพื่อรองรับการผลิตที่ขยายตัวมากกว่า 50,000 แห่ง ขณะเดียวกัน ก็มีการสนับสนุนอุตสาหกรรมการทาไม้ด้วยการสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่งทางบก เพื่อใช้ขนส่งสินค้าและวัตถุดิบได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เส้นทางถนนที่สร้างเพื่อกิจการ ป่าไม้รวมกันระยะทางมากกว่า 600,000 กิโลเมตร

การเกษตรที่ผิดวิธีและการขยายตัวของพื้นที่ ระบบการเกษตรในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาส่วนใหญ่ใช้สารเคมีอันตรายในการเพาะปลูก มีการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชและยากาจัดศัตรูพืชจานวนมาก ส่งผลให้เกิดสารพิษตกค้างในดินและน้า และทาให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรยิ่งเร่งความเสื่อมโทรมของดินในทวีป โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา มีอัตราการชะล้างพังทลายของหน้าดินสูงถึง 1 พันล้านตันต่อปี สารพิษที่ตกค้างในดินและน้าจากการใช้ยากาจัดศัตรูพืชในพื้นที่ทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและทาให้เกิดโรคผิวหนังแก่ชาวอเมริกันอย่างรุนแรง 

การขยายตัวของเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรม ความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและสังคมการเพิ่มของจานวนประชากร และการอพยพย้ายถิ่นของประชากรของ ทวีปอเมริกาเหนือ มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่และการยายตัวของเขตเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกามีพื้นที่มากกว่า 36,400 ตารางกิโลเมตร ถูกพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมและเขตเมือง มีขนาดเป็น 2 เท่าของอัตราการเพิ่มจานวนประชากรในประเทศ ขณะที่ประเทศแคนาดา ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทางการเกษตรเปลี่ยนไปเป็นเขตเมือง ส่วนในประเทศเม็กซิโก ประชากร 1 ใน 4 อาศัยอยู่ในเขตเมือง และมีพื้นที่มากกว่า 995 ตารางกิโลเมตรที่เปลี่ยนไปเป็นเขตเมือง 

มลพิษทางอากาศ ฝนกรด ฝนกรดในทวีปอเมริกาเหนือเกิดจากก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ที่ได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในรถยนต์มากถึงร้อยละ 60 ที่เหลือเกิดจาก ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่ได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ฝนกรดทาให้สิ่งมีชีวิตในทะเลสาบกว่า 150,000 แห่งในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา (ประมาณร้อยละ 8 ของทะเลสาบที่พบอยู่รอบทิวเขาแอดิรอนแด็ก ในเมืองนิวยอร์ก) ตายเพราะทะเลสาบเป็นพิษ

 

South America 

การทำป่าไม้ ในทวีปนี้มีพื้นที่ป่าจำนวนมาก โดยเฉพาะในลุ่มน้ำแอมะซอนทางตอนเหนือและตะวันออกของทวีป ในประเทศบราซิล เวเนซุเอลา และเอกวาดอร์ยังคงมีการทำป่าไม้มาก โดยส่งไม้ไปขายในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันได้รับการต่อต้านมากเนื่องจากเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมโลกและสัตว์ป่าหายากจำนวนมาก

สัตว์ป่า ทวีปอเมริกาใต้มีสัตว์ป่าทั้งบนบกและในน้ำจำนวนมาก เช่น ตัวลามาตัวกินมดยักษ์ เสือดาว งู และนกนานาชนิด ในน้ำมีพันธุ์ปลาหายากอย่างโลมาสีชมพู ซึ่งพบที่ประเทศบราซิล อุรุกวัยและอาร์เจนตินา บนเกาะอาลาปากอสของประเทศเอกวาดอร์ ก็มีสัตว์เฉพาะถิ่นหายาก คือ เต่ายักษ์และอิกัวนาทะเล ซึ่งการที่มีสัตว์ป่าชุกชุมทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางนิเวศที่สำคัญ

ทรัพยากรหิน แร่และเชื้อเพลิง หินที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อยู่ในด้านทิศเหนือ ตะวันตกและใต้ของทวีป โดยหินปูนใช้ทำปูนซีเมนต์ และหินแกรนิตใช้เป็นหินประดับตกแต่งในด้านแร่ธาตุทวีปอเมริกาใต้ก็มีอุดมสมบูรณ์ เช่น ในประเทศอาร์เจนตินา มีแร่ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก ทองแดง เงิน ประเทศชิลี มีปุ๋ยไนเตรด ประเทศกายอานา มีแร่บ็อกไซต์ที่มีคุณภาพสูง แร่ทอง เพชร ทองแดง แมงกานีส และโมลิปดีนัม ประเทศเปรู มีแร่ทองแดง ประเทศซูรินาเม  มีแร่บ็อกไซต์จำนวนมาก ประเทศอุรุกวัย มีแร่อะเกต แอเมทิสต์ ทองและเหล็ก ประเทศเวเนซุเอลา มีแร่เหล็ก ทองแดง และเพช

Antarctica

                  ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect)การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปีซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน เมื่ออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น ทำให้น้ำแข็งที่ทวีปแอนตาร์กติกาละลายลงด้วย   

Asia

bottom of page